จากกรณีที่สายการบินแอร์เอเชีย เที่ยวบิน FD3188 ดอนเมือง – นครศรีธรรมราช สายการบินแอร์ เกิดเหตุแบตเตอรี่สำรอง (พาวเวอร์แบงก์) ของผู้โดยสารมีควันและไฟลุกไหม้ จนผู้โดยสารคนอื่นๆต่างพากันแต่ตื่น แต่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินได้นำถังดับเพลิงควบคุมสถานการณ์ได้อย่าง รวดเร็ว และทุกคนปลอดภัย นั้น
ล่าสุด สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ CAAT ได้เผยแพร่คลิปแนะนำ การนำพาวเวอร์แบงก์ ขึ้นเครื่องอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกหลักเกณฑ์
ระทึก! พาวเวอร์แบงก์ ลุกไหม้ควันโขมงบนเครื่องบิน ผู้โดยสารแตกตื่น
เคาะแล้ว! Nothing Phone (2a) เปิดตัวทั่วโลก 5 มี.ค. นี้!
โดยแบตเตอรี่สำรอง หรือ พาวเวอร์แบงก์ ไม่สามารถโหลดใต้ท้องเครื่องบินได้เพราะมีส่วนประกอบของลิเธียม เมื่อเราเดินทางหากพาวเวอร์แบงก์ เกิดความร้อนสะสมจนเกิดประกายไฟหรือเกิดระเบิดขึ้นมา หากพาวเวอร์แบงก์ อยู่ใต้ท้องเครื่องก็จะไม่มีใครพบเห็น และไม่สามารถเข้าระงับเหตุได้ แต่ถ้าหากนำ พาวเวอร์แบงก์ ติดตัวไปด้วยหากเกิดระเบิด หรือ เกิดเหตุอะไรขึ้นมาลูกเรือ หรือผู้โดยสารก็สามารถเข้าระงับเหตุได้ทัน
เมื่อปี2023 ก็เคยเกิดกรณีที่ พาวเวอร์แบงก์ ไหม้บนเครื่องบิน เป็นเที่ยวบินจากไต้หวั่นไปสิงคโปร์ ของสายการบิน Scoot เหตุการณ์ครั้งนั้นลูกเรือสามารถเข้าระงับเหตุได้ทัน และโชคดีที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บรุนแรงคำพูดจาก ทดลองเล่นสล็อต
ทั้งนี้ สมาคมทางอากาศระหว่างประเทศ ได้กำหนดความจุของพาวเวอร์แบงก์ไว้ดังนี้
- พาวเวอร์แบงก์ที่มีความจุไม่เกิน 20,000 mAh ผู้โดยสารสามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องได้คนละไม่เกิน 20 ชิ้น
- พาวเวอร์แบงก์ที่มีความจุเกิน 20,000 mAh แต่ไม่เกิน 32,000 mAh ผู้โดยสารสามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 2 ชิ้น
- พาวเวอร์แบงก์ ที่มีความจุเกิน 32,000 mAh ไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ทุกกรณี